การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
ความหมาย
การศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน
มุ่งไปสู่การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
เป็นการเรียนรู้ที่เพิ่มพูนประสบการณ์เรียนเพื่อรู้จักตนเอง
เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้เพื่อการเจริญงอกงามทั้งร่างกาย
จิตใจและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์
ประเทศไทยได้จัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
พ.ศ. 2545 เป็นแม่บทในการปฏิบัติ
โดยกำหนดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับสถานศึกษาแต่ละแห่งตามความเหมาะสม
1. ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทย
2. เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทย
3. เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
4. เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทในการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์
5. เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย
2. แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
1. การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยผู้เรียนเป็นผู้ทำกิจกรรม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
โดยผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการ
การมีขั้นตอนต่างๆให้ผู้เรียนแสดงออกทางร่างกาย ความคิด การพูด
เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ คือความรู้หลังจากทำกิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงทางความรู้
ความคิดและทักษะความสามารถ
สาระสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้เรื่องของตนเอง
ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
3. การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต
และการประกอบอาชีพ
4. การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด
การแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ
5. การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้
คุณธรรมค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
6. การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นประชาธิปไตย
7. การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม
8. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
9. การประเมินผลผู้เรียน
3. การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
บทบัญญัติในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ บัญญัติไว้ว่า
การจัดการเรียนรู้ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
ความหมายเชิงปรัชญาและเชิงปฏิบัติการ
1. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริงและเงื่อนไขการรับรู้ของผู้เรียนเป็นที่ตั้ง
ผู้เรียนมีอิสรภาพ ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพในทุกๆด้าน
2. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง
3. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนดำเนินการให้สอดคล้องกับผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
5
ลักษณะ
1. การเรียนรู้อย่างมีความสุข
2. การเรียนรู้แบบองค์รวม
3. การเรียนรู้จากการเกิดและการปฏิบัติจริง
4. การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น
5. การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
4. วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) รียกว่าวิธีการจัดการเรียนรู้
ในมาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
โดยมีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เป็นทิศทางมุ่งให้แสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้
ที่มุ่งให้เกิดความสมดุลทั้งด้านปัญญา ความคิด และด้านอารมณ์
การสอนแบบโครงงาน (Project
Design)
โครงงาน คือ
การกำหนดรูปแบบในการทำงานอย่างเป็นระเบียบ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน แบ่งออกเป็น 4
ประเภท คือ การศึกษาทดลอง สำรวจข้อมูล ประดิษฐ์ และพัฒนาผลงาน
บทบาทของผู้เรียนการสอนแบบโครงงาน
1. โครงงาน
2. ศึกษาข้อมูล
3. วิเคราะห์ข้อมูล
4. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
5. เขียนโครงงานวางแผนการทำงาน
6. ปฏิบัติตามโครงงาน
7. ประเมินโครงงาน
วิธีการสอนแบบ 4
MAT
ขั้นที่ 1 การนำเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียน
1.1
การเสริมสร้างประสบการณ์
1.2
การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้
ขั้นที่ 2 การเสนอเนื้อหา สาระ ข้อมูลแก่ผู้เรียน
2.1
การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด
2.2
การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด
ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด
3.1 การปฏิบัติงานตามขั้นตอน
3.2
การนำเสนอผลการปฏิบัติ
ขั้นที่ 4 การนำความคิดรวบยอดไปประยุกต์ใช้
4.1
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือการพัฒนางาน
4.2
การนำเสนอผลงานหรือการเผยแพร่
วิธีการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative
Learning)
แนวคิดหลัก 6
ประการ
1. การจัดกลุ่ม
(TEAMS) คือการจัดกลุ่มผู้เรียนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกัน
เพื่อให้ประสิทธิผล
2. ความมุ่งมั่น
(Will)
ความมุ่งมั่นและอุดมการณ์ของผู้เรียนที่จะทำงานร่วมกัน
ซึ่งจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้เละมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมร่วมกัน
3. การจัดการ
(Management) การจัดการกลุ่มให้สามารถทำกิจกรรม
ได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการจัดการผู้เรียน เพื่อให้ทำกิจกรรมกลุ่มประสบผลสำเร็จ
4. ทักษะทางสังคม
(Social Skill) การพัฒนาให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน
และช่วยเหลือกันอย่างจริงใจ
5. กฎพื้น
4 ข้อ (Basics principles : Pies) คือ 1.ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 2.ยอมรับความสามารถซึ่งกันและกัน
3.ความเสมอภาค และ4.การมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
6. รูปแบบของกิจกรรม
(Structures) คือ รูปแบบกิจกรรมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะศึกษา
วิธีสอนแบบซิปปา (CIPPA
Model)
เป็นการสอนมุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
มีองค์ประกอบ 5 ประการ
1. C Construct การสร้างความรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism)
2. I Interaction การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3. P Physical
Participation การมีส่วนร่วมทางกาย
4. P Process Learning
การเรียนรู้กระบวนการ ที่เป็นทักษะต่อการดำรงชีวิต
5. A Application การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
วิธีการสอนแบบบูรณาการ
เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่
และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในวิชาหลายๆแขนง
ขั้นตอนการสอนแบบบูรณาการ
1. กำหนดหัวข้อสาระการเรียนรู้
2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
3. กำหนดเนื้อหาของเรื่อง
4. กำหนดขอบเขตการเรียนรู้
5. ดำเนินกิจกรรม
6. ประเมินผล
วิธีสอนแบบเล่าเรื่อง (Story
Line)
เป็นวิธีสอนที่จัดเนื้อหาสาระของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณากัน
โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนเรื่อง
หลักการจัดการเรียนรู้
1. สร้างหน่วยการเรียนรู้
ใช้กลุ่มสาระหนึ่งเป็นแกนเรื่อง
และกลุ่มสาระอื่นมาบูรณาการด้วยการสร้างแผนผังสาระการเรียนรู้และกิจกรรม
ก่อนอื่นต้องกำหนดชื่อเรื่อง และกำหนดหัวข้อย่อย
โดยบูรณาการเนื้อหาสาระกิจกรรมแล้วกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน
2. การสร้างสถานการณ์จากหน่วยการเรียนรู้
ผู้สอนสมมติสถานการณ์ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ฉาก ตัวละคร
วิถีชีวิต เหตุการณ์และสถานการณ์
3. การจัดการเรียนรู้ต้องจัดทำเส้นทางการดำเนินเรื่อง
คำถามนำ กิจกรรม สื่อการเรียนรู้ และลักษณะการเรียนรู้ โดยทำเป็นแผนการเรียนรู้
4. การสอนตามแผนการเรียนรู้จะแบ่งเวลาการเรียนตามเส้นทางการดำเนินเรื่อง
การสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
เป็นการเรียนรู้แบบถาม-ตอบ มี 6
ขั้นตอน
ขั้นที่ 1
แนะนำรูปแบบการเรียน ผู้สอนกับผู้เรียนกำหนดหัวข้อการเรียนรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้ และขั้นตอนการเรียนรู้
ขั้นที่ 2
อ่านหรือดูสื่อเพื่อหาความรู้และเตรียมคำถาม ผู้เรียนศึกษาความรู้จากแหล่งต่างๆโดยแบ่งกลุ่ม
กลุ่มละ 6-8 คน ผู้เรียนศึกษาสื่อและตั้งคำถาม
ขั้นที่ 3
วางแผนและจัดกลุ่มคำถาม แต่ละกลุ่มจัดกลุ่มคำถามตามเนื้อหาสาระ
แล้วนำคำถามทุกกลุ่มมารวมกัน
ขั้นที่ 4
ดำเนินการถามตอบ
ขั้นที่
5 ทบทวนและสรุปความรู้ ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาตามประเด็นคำถาม
ขั้นที่ 6
กิจกรรมสร้างสรรค์ เมื่อตอบคำถามแล้วผู้เรียนแต่ละกลุ่มประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรม
เช่น ทำสมุดคำตอบ
วิธีสอนแบบโครงสร้างความรู้
เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า
แล้วนำข้อมูลมาจัดกลุ่ม เขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิด กระบวนการคิด
และความสัมพันธ์ของกระบวนการโดยใช้รูปภาพ
รูปแบบการสอนแบบโครงสร้างความรู้
1. แผนผังความคิด
(Mind Map)
2. ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้
(Tree Structure)
3. แผนผังความคิดแบบแวน
(Vann Diagram)
4. แผนผังความคิดแบบวงจร
หรือแบบวัฏจักร (Cycle Graph)
5. แผนผังก้างปลา
(Fish boon)
6. แผนผังแบบลำดับขั้นตอน
(Sequence Chart)
5. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้
(Constructivism)
มุ่งความสนใจไปที่บทบาทของผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่
เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการพยายามเชิงสังคม เป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
เน้นการสร้างความรู้โดยกลุ่มคน
2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
(Behavionsm)
เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากพลังกระตุ้นจากภายนอกในรูปแบบการลงโทษและการให้รางวัล
3. ทฤษฎีพุทธินิยม
(Conitivism) เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการรับข่าวสาร
การจัดเก็บข่าวสาร และการนำข่าวสารออกมาใช้
4. ทฤษฎีมนุษยนิยม
(Humanism)
เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความดีที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
มีอิสระที่จะนำตนเองและพึ่งตนเองได้ มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ต่อสังคม
มีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่างๆ
6. บทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
2. กำหนดแผนยุทศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียน
3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เอื้ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สอน
4. พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
5. จัดให้มีระบบนิเทศภายใน
ช่วยเหลือครูพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้
บทบาทของครูผู้สอน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
2. พัฒนาความรู้
ความสามารถตนอยู่เสมอ
3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้
และการวัดประเมินผลตามสภาพจริง
4. ทำวิจัยในชั้นเรียนควบคู่การเรียนการสอน
นำผลมาปรับปรุงพัฒนา
5. สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทของผู้เรียน
6. ช่วยให้รู้จักประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง
ผู้เรียนยอมรับและพัฒนาตนเอง
7. ให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน
กระตุ้นผู้เรียนให้กล้าเผชิญปัญหา
8. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน
และบุคลากรในโรงเรียน
บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
2. ให้การอบรมเลี้ยงดู
ให้ความรักและความอบอุ่น
3. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในบ้าน
และเป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดา
4.ให้คำปรึกษา
และเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
5. ร่วมมือกับโรงเรียนในการให้ข้อมูลและประเมินผู้เรียน
บทบาทของชุมชน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
2. ร่วมมือในการพัฒนาสถานศึกษา
และระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้
3. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษาสร้างบรรยากาศให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้
4. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
บทบาทของผู้เรียน
1. กำหนดเป้าหมายการศึกษาให้สอดคล้องกับความรู้
ความสามรถและความสนใจของตน
2. มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้
3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน
4. ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
5. ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
6.
รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น
7. ศรัทธาต่อผู้สอน
มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น