วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สัปดาที่ 12


การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน



ความหมาย
สื่อ หมายถึงสิ่งที่เป็นพาหนะนำความรู้ หรือสารทเทศจากแหล่งกำเนิดไปสู่ผู้รับ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ รูปภาพ วัสดุฉาย สิ่งพิมพ์ และสิ่งดังกล่าว เมื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอน เราเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
          กลยุทธ์การสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อ สื่อควรได้รับการกระทำหลักจากวิเคราะห์เนื้อหาวิชาแล้ว และหลังจากที่ได้มีการพัฒนาจุดประสงค์ของการเรียนการสอนแล้ว แบบจำลองสื่อมีทั้งแบบง่ายและซับซ้อน โรเบิร์ต เมเจอร์ กล่าวว่า ควรหลีกเลี่ยงแบบจำลองที่ซับซ้อนเท่าที่จะเป็นไปได้
การนำเสนอสื่อการเรียนการสอน ควรเป็นการกระตุ้นทางการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ง่ายแก่การเข้าใจ
          การเลือกและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน นักออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกวิธีการ/สื่อ หรือเลือกวิธีการ เลือกวัสดุอุปกรณ์ ระบุประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ ทางการค้าริเริ่มและเฝ้าระวัง
          กระบวนการผลิตสื่อ เลือกรูปแบบสื่อ บนพื้นฐานความเหมาะสมสำหรับผู้เรียน สิ่งที่เรียน คุณลักษณะของผู้เรียน จุดประสงค์ และสถานการณ์การเรียนรู้ จากนั้นผู้ออกแบบต้องแสวงหาสื่อที่สามารถนำมาปรับใช้ หากไม่มีต้องลงมือสร้างเอง
1. บทบาทของผู้ออกแบบ
1. ตัดสินใจเลือกวิธี/สื่อ จะเลือกสื่ออย่างไร จะรับวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าอย่างไร และจะริเริ่ม และเฝ้าระวังกระบวนการผลิตอย่างไร
2. จำกัดบทบาทในการทำหน้าที่ ต้องสามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จและมีประสิทธิภาพ ต้องรู้หน้าที่ของผู้ผลิตสื่อ ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้วางโปรแกรม เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
3. รับผิดชอบในการตัดสินใจเลือกวิธีการ/สื่อ ผู้ออกแบบจะทำสิ่งนี้ได้ดี ถ้ารู้จักทำหน้าที่ในลักษณะผู้วิจัย ผู้เขียนสคริป ผู้ถ่ายภาพ และผู้เรียบเรียง
2. ประเภทของสื่อ
1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสำหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง
2. สื่อทางตา ได้แก่กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัสดุต่างๆที่เป็นของจริง รูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจำลอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส
3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดีโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ดิจิตอล วีดีโอ
4. สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจำลองในการทำงาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จำลอง
การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการ
         
การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ บางครั้งเกิดขึ้นพร้อมๆกัน บางเวลาเลือกวิธีก่อน เลือกสื่อทีหลัง ดูแกน เลียด  เรียบเทียบวิธีการเหมือนทางหลวง และสื่อเป็นสิ่งเพิ่มเติมบนทางหลวง เช่น สัญญาน แผนที่ ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น
          วิธีการ เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะ เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน จอยส์และวีล เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า แบบจำลองการสอน (
Model of Teaching)
3. การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
          สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนำเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ในขณะที่สื่อเป็นคำที่ใช้อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน ( mode of delivery)จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่จะส่งผ่านแบบการเรียนการสอนนั้น ในป่าเป็นความจำเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์(Hardware)และส่วนที่เป็นวัสดุ(Software)สำหรับการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นฐานการตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทำได้ก่อนทำตามหลังหรือทำไปพร้อมๆกันกับการการตกลงเกี่ยวกับวิธีการ
          การแบ่งวิธีการ/สื่อ ออกเป็น 3 ประเภทคือ วิธีการ(methods) สื่อดั้งเดิม (traditional media) และเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า (newer technology) ในด้านวิธีการดำเนินหลักสูตรโดยทั่วไปซึ่งอาจจะรวมรวมกัน แต่จะใช้สื่อรวมรวมกันส่วนสื่อเดิมจะรวมถึงงานพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ และสำหรับเทคโนโลยีใหม่คือการสื่อสารโทรคมนาคม และไมโครโปรเซสเซอร์ (microprpcessor)สื่อ (media) สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์(print materials)ทัศนวัสดุไม่ฉาย (nonprojected visuals) ทัศนวัสดุฉาย (projected visuals) สื่อประเภทเสียง (audio media) ระบบสื่อผสม(multimedia systems) ภาพยนตร์ (films) และโทรทัศน์ (television ) สื่อแต่ละประเภทเหล่านี้สามารถแสดงออกให้เลือกได้หลากหลายรูปแบบ
การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
           เทคโนโลยีใหม่ประกอบด้วย การเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน (
computer-based instrction)และการเรียนรู้ทางไกลที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน (telecommunications-based distance learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่ง เทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ
การพิจารณาเลือกสื่อ
         มีหลักการทั่วไปจำนวนมากและข้อพิจารณาอื่นๆ ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนคือ กฎในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ
กฎในการเลือกสื่อ
กฎที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไป แล้วต้องการสื่อสองทาง นักเรียนจะเรียนได้ดีที่สุด เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทำงาน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กฎที่ 2 สื่อทางเดียว ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสื่อที่จะให้ข้อมูลป้อนกลับ คือ ภาพยนตร์หรือ วีดิทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่า เมื่อมีคู่มือการใช้ควบคู่ไปด้วยหรือมีแบบฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย
          กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคลต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น คือ ผู้เรียน ที่เรียนเช้า อาจจะต้องการสื่อการเรียนการสอนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่น การฝึกเสริม
          กฎที่ 4 การนำเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนะวัสดุ ตัวอย่างนักเรียนพยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหมจำเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ การสาธิตของจริง )มากกว่าที่จะเขียน
          กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ
          กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆอาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความแตกต่างกัน
ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
          ไม่มีการเรียนรู้กฎซึ่งจำเป็นในการพิจารณา เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนเป็นความจำที่มองหาปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกซื้อ
แบบจำลองการเลือกสื่อ
          แบบจำลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ สำหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมีวิธีการเลือกสื่อที่แตกต่างกัน
สิ่งที่น่าสังเกตคือ แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไรเป็นนัยของความแตกต่าง แต่ละแบบจำลอง
พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จากวัสดุ
แบบจำลองของวิลเลี่ยม ออเลน
          แบบจำลองของวิลเลี่ยม ออเลน (William allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจำแนกจุดประสงค์ ในการจำแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนการสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์ ออเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผลสื่อสำหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ด้วยเหตุนี้ ออเลน ได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจำแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ ตามชนิดของการเรียนรู้ เมื่อใช้แบบจำลองนี้ผู้ออกแบบความพยายามหลีกเลี่ยงสืบให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำกับชนิดของการเรียนรู้(allen,1967 : 27-31) อย่างไรก็ตามถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำหรือปานกลาง ผู้ใช้ควรรับรู้ข้อจำกัด
          วิธีการที่แสดงด้วยภาพ สามารถที่จะช่วยให้เห็นกระบวนการของการตรวจสอบจุดประสงค์ และตัดสินใจว่าสื่อชนิดใดมีความเหมาะสม
แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี
          แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี (Gerlanch and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปีค. ศ. 1971 ในตำราที่ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลี ได้นำเสนอเกณฑ์ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอน หลังจากที่ระบุจุดประสงค์ และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน(behaviors) แล้วเกมดังกล่าวประกอบด้วย
ประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา (สื่อสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของวัตถุประสงค์หรือไม่)
ประการที่2 ระดับความเข้าใจ(สื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่)
ประการที่ 3 ราคา
ประการที่ 4 ประโยชน์ (เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุมีประโยชน์หรือไม่)
           ประการที่ 5 คุณภาพทางเทคนิค (คุณลักษณะทางการฟังและการดูของการผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่) (Gerlach and Ely,1980)




อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น