กลยุทธ์การเรียนการสอน
ความหมาย
กลยุทธ์การเรียนการสอน คือ
วิธีปฏิบัติและเทคนิคหลายๆอย่าง ที่ครูใช้ในการนำเสนอเนื้อหาวิชาแก่ผู้เรียน
และนำไปสู่ผลที่ได้รับที่มีประสิทธิภาพ เช่น การบรรยาย การอภิปรายกลุ่มย่อย
การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง การเรียนการสอนที่ใช้สื่อ การฝึกหัดซ้ำๆ การปฏิบัติในห้องทดลอง
เป็นต้น
ในการสอนครูต้องอาศัยดุลพินิจทางวิชาชีพเลือกกลยุทธ์ในการสอนเอง
เพื่อให้เหมาะกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
1. สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะพัฒนากลยุทธ์เพื่อการออกแบบสภาวการณ์ของการเรียนรู้ต่างๆ
การเรียนการสอนจะมีชุดสภาวการณ์โดยทั่วๆ ไปที่ใช้กับทุกเหตุการณ์
ไดอาแกรมของซีลส์และคลาสโกว์
แสดงสภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานการเรียนการสอนปกติ
สภาวการณ์นี้จะรวมอยู่ในการเรียนการสอนทุกชนิด
2. ความต้องการทฤษฎีการเรียนการสอน
ทฤษฎีการเรียนการสอน
เป็นสิ่งจำเป็นที่จะผนวกเข้ากับทฤษฎีการเรียนรู้
เมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอนขาดความเอาใจใส่
ไม่ได้รับการกล่าวถึงในผลงานการเขียนทางทฤษฎีของนักจิตวิทยา
ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ว่าผู้เรียนทำอะไร
แต่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาขึ้นอยู่กับว่าครูทำอะไร
ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงอย่างไรในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น การตอบสนองต่อพฤติกรรมของครูหรืออื่นๆ
ที่อยู่ในวงการศึกษาครูเท่านั้นที่จะเป็นผู้นำความรู้เกี่ยวกับการเรียนไปสู่การปฏิบัติ
ครูจะทำให้ความรู้เกิดผลประกอบขึ้นเป็นส่วนวิชาทฤษฎีการสอน
ทฤษฎีการสอนจะเกี่ยวข้องกับการอธิบาย
การทำนาย และการควบคุมทิศทางที่ครูปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
ทฤษฎีการเรียนการสอน
เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดของการประสบความสำเร็จในความรู้หรือทักษะ
ทฤษฎีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับความต้องการที่จะสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีที่สุดได้อย่างไร
ทฤษฎีการเรียนการสอนมีลักษณะสำคัญ 4
ประการ
1. ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งปลูกฝัง
บ่มเพาะบุคคลให้มีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
2.
ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะวิธีจัดโครงสร้างองค์ความรู้
เพื่อให้เกิดความพร้อมที่สุดสำหรับผู้เรียน
3.
ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการนำเนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
4.
ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะธรรมชาติ
และช่วงก้าวของการให้รางวัลและการลงโทษ ในกระบวนการเรียนรู้และการสอน
4. ทฤษฎีการเรียนการสอน
การเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับการออกแบการเรียนการสอน
ซึ่งได้มาจากผลการวิจัยของเอกัต บุคคลเรียนรู้อย่างไร ตีความให้ดีที่สุดอย่างไร
ความเห็นเหล่านี้ก่อให้เกิดทฤษฎีการเรียนการสอนจำนวนมาก
4.1 ทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่และบริกส์
เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกาเรียนรู้สารสนเทศทางถ้อยคำ
ทักษะเชาว์ปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ประเภทอื่นๆ ทักษะทางการเคลื่อนไหว และเจตคติ
4.2 ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลูท
เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์มหภาพ
สำหรับการจัดการเรียนการสอน เน้นมโนทัศน์ หลักการ ระเบียบวิธีการ และการระลึก
เป็นกระบวนการนำเสนอรายละเอียดค่อยเป็นค่อยไป
4.3 ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส
ขั้นตอนของพฤติกรรมระหว่างระยะสำคัญของการพัฒนาเชาว์ปัญญาขึ้นอยู่กับการปรากฏให้เห็น
การเพิ่มความซับซ้อนของกลยุทธ์ทางปัญญา การใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนกับผู้เรียนทำให้เพิ่มประสบการณ์
4.4 ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา
เป็นการออกแบบการจำลองการเรียนการสอนที่แยกออกมา
โดยใช้วิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง
กำหนดให้ผู้เรียนติดตามระเบียบวิธีการที่มีอยู่ในคู่มือการฝึกอบรม
การพิจารณาคุณลักษณะของผู้เรียน ต้องอาศัยความรู้ที่มีอยู่ของผู้เรียน
สัมพันธ์กับการตัดสินใจวางแผนการเริ่มต้นของโปรแกรมการเรียนการสอนใหม่ๆ
ซึงผู้เรียนมีลักษณะเฉพาะตัว ผู้ออกแบบต้องพิจาณาว่า โปรแกรมการเรียนการสอนที่ออกแบบจุดหมายเพื่อใคร
สไตล์การสอน เป็นการแสดงคุณค่าของครูแต่คน
เป็นปัจจัยส่วนบุคคล ที่ทำให้ครูคนหนึ่งแตกต่างจากครูคนอื่นๆ
เป็นความสามารถในการแสดงเชาว์ปัญญา และความคงแก่เรียน
สไตล์การเรียนรู้
สไตล์การสอนของครูสัมพันธ์กับสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้เรียนมีสไตล์การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
สไตล์การสอนสามารถส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
แบบจำลองการสอน
เป็นชุดพฤติกรรมทั่วไป ซึ่งเน้นกลยุทธ์หรือชุดของกลยุทธ์เฉพาะอย่าง
การเปลี่ยนแปลงแบบจำลองการสอนต้องอาศัยแบบจำลองการสอนหลายๆแบบ
การใช้แบบจำลองเพียงแบบเดียวก่อให้เกิดความกระสับกระส่ายและความเบื่อได้
การจัดการเรียนการสอน
ในการวางแผนสำหรับการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับการเลือก เป้าหมายจุดประสงค์
กลยุทธ์ ทรัพยากร การเรียนรู้ และเทคนิคการประเมินผล ครูต้องนำองค์ประกอบเหล่านี้มาวางแผนการเรียนการสอน
การนำเสนอการสอน
หลังวางแผนและจัดรูปสำหรับการเรียนการสอนแล้ว
ครูจะชี้นำประสบการณ์ในการเรียนรู้ให้กับนักเรียนภายในชั้น
การแนะนำเป็นการนำเสนอสารสนเทศ ข้อความจริงมโนทัศน์และหลักการใช้กับผู้เรียน
5. หลักการเรียนรู้
เป็นการทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจต่อภาระงาน
เป็นการจูงใจผู้เรียน โดยอธิบายประโยชน์ของฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์
และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่ๆ เข้ากับการเรียนรู้เดิม
การแนะนำบทเรียน
กิจกรรมเริ่มแรกของกระบวนการสอนการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนตั้งใจเรียน
และเตรียมผู้เรียนไปสู่การฝึกปฏิบัติ
การนำเสนอเนื้อหาใหม่
เมื่อมีการเรียนรู้ใหม่ บทเรียนควรนำเสนอข้อความจริง มโนทัศน์
และกฎหรือพรรณนาสาธิตทักษะการนำเสนอเนื้อหาใหม่ๆ ให้จดจำได้ง่าย
ควรนำเสนออย่างมีลำดับ มีแบบของโครงสร้าง
การฝึกปฏิบัติ
เป็นกระบวนการของการตื่นตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อผู้เรียนได้มีการผลิตและปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นได้ทั้งเปิดเผยหรือไม่เปิดเผย
6. การวิจัยการเรียนรู้
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเผชิญอยู่ สิ่งสำคัญที่สุดคือการทดลอง
แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวข้องกับการออกแบบการสอน
เนื้อหาส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่เกี่ยวกับตัวแปรการออกแบบการเรียนการสอนต้องไม่กว้างเกินไป
ข้อมูลป้อนกลับ
อีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้การผิดพลาดลดลง คือ
การให้ผู้เรียนได้รับรู้ที่การตอบสนองนั้นไม่ถูกต้อง
การรู้ว่าถูกหรือผิดช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทำให้ถูกต้อง
7. ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรเนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์เรียนรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัย
3
ประการ
1. ความสามารถของผู้เรียน 2. ระดับของแรงจูงใจ 3. ธรรมชาติของภาระงาน
กระบวนการเรียนรู้
1. แรงจูงใจภายในทำให้ผู้เรียนรับความคิดง่าย
2. เป้าประสงค์การเรียนรู้
3. ผู้เรียนเสาะหาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
4. ผลของความก้าวหน้าจากการเลือกแก้ปัญหา
5. การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
8. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เป็นการเรียนมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
เรียนอย่างมีความสุข ได้พัฒนาเต็มศักยภาพรอบด้าน
นักการศึกษาที่คิดค้นและใช้คำนี้ครั้งแรกคือ อาร์ โรเจอร์ โดยเชื่อว่า
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ
ส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน ได้พัฒนาศักยภาพสูงสุดของตน
19. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เป็นการเรียนมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
เรียนอย่างมีความสุข ได้พัฒนาเต็มศักยภาพรอบด้าน
นักการศึกษาที่คิดค้นและใช้คำนี้ครั้งแรกคือ อาร์ โรเจอร์ โดยเชื่อว่า
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ
ส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน
ได้พัฒนาศักยภาพสูงสุดของตน
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น