วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่5



วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (กิจกรรมผึ้งแตกรัง)


วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center) มี 18 วิธี ดังนี้
1. วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method) จอห์นดิวอี้เป้นผู้คิดค้น ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา
2. วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing) กำหนดให้ผู้เรียนแสดงบทบาทตามสมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพเป็นจริง
3. วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เป็นการสอนโดยให้นักเรียนค้นพบปัญหาและวิธีแก้ไข ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น
4. วิธีการสอนตามขั้นที่ 4 ของอริยสัจ (Buddist's Method) 
        ทุกข์ = กำหนดปัญหา
        สมุทัย = ตั้งสมติฐาน
        นิโรธ = ทดลองและเก็บข้อมูล
        มรรค = วิเคราะห์ข้อมูล และสรุป
5. วิธีการสอนแบบทดลอง (The Laboratory Method) คล้ายการสอนแบบวิทยาศาสตร์ แต่ปรับปรุงหลักการบางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับวิชาอื่นๆ
6. วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method) เป็นการสอนแบบแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน ระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างนักเรียนกับนักเรียน
7. วิธีการสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching) เป็นการสอนกับนกเรียน 5-6 คน ใช้เวลา 15-20 นาที ก่อนนำไปใช้จริงในช้นเรียน
8. วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method) เป็นการสอนที่สอดคล้องกับชีวิตจริง เริ่มด้วยการตั้งปัญหาและแก้ปัญหาด้วยการลงมือปฏิบัติเอง
9. วิธีการสอนแบบหน่วย (Unit Teaching method) เป็นการนำเนื้อหาหลายวิชามาสัมพันธ์กัย โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ถือเอาความมุ่งหมายของหน่วยเป็นหลัก
10. วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center) แบ่งบทเรียนออกเป็นกลุ่ม ชุดการสอนแตกต่างกันไป แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันประกอบกิจกรรมแต่ละศูนย์จนครบทุกศูนย์
11. วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรม (Programmed Instruction) สื่อการเรียนการสอนที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง แบ่งเนื้อหาเป็นหลายๆกรอบ มีเนื้อหาเฉพาะแบบฝึกหัดพร้อมเฉลย
12. บทเรียนโมดูล (Module) เป็นบทเรียนหน่วยหนึ่ง สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนศึกษา ตามจุดประสงค์ของบทเรียน
13. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน
14. การสอนซ่อมเสริม เป็นการสอนเพิ่มให้เด็กที่เรียนไม่ทันเพื่อน หรือจัดการเรียนเพิ่มแก่เด็กที่เก่ง เพื่อได้รับความรู้เพิ่ม
15. หมวกแห่งความคิด  (The Six Thinking Hats) เป็นแนวคิดของ Edward de Bon มี 6 ใบดัังนี้
        1. หมวกสีขาว = ข้อเท็จจริง
        2. หมวกสีแดง = อารมณ์ ความรู้สึก
        3. หมวกสีดำ = ความคิดในทางลบ จุดด้อย
        4. หมวกสีเหลือง = ความคิดเชิงบวก
        5. หมวกสีเขียว = ความคิดสร้างสรรค์
        6. หมวกสีน้ำเงิน = แทนการควบคุม สรุป
16. การสอนแบบ 4 MAT มี 4 ขั้น คือ 
      1. Why ตั้งคำถาม กระตุ้นความสนใจ
      2. What อธิบายความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
      3. How การนำไปใช้
      4. If เป็นการกระตุ้น
17. วิธีการสอนแบบ CIPPA มี 5 ด้าน 
       1. สร้างความรู้ด้วยตนเอง
       2. การมีปฏิสัมพันธ์
       3. การมีส่วนร่วมทางกาย
       4. การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ
       5. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
18. วิธีการสอนแบบ Storyline เป็นการสอนแบบบูรณาการดึงแนวคิดจากวิชาต่างๆ มาเป็นกระบวนการแก้ปัญหา โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ



                                   

รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. กระบวนการสืบค้น 
2. การเรียนรู้แบบค้นพบ 
3. การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
4. การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด
5. การตั้งคำถาม
6. การศึกษาเป็นรายบุคคล
7. การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี
8. การอภิปรายกลุ่มใหญ่
9. การอภิปรายกลุ่มย่อย
10. การฝึกปฏิบัติการ
11. เกม
12. กรณีศึกษา
13. สถานการณ์จำลอง
14. ละคร
15. บทบาทสมมติ
16. การเรียนแบบร่วมมือ
17. การเรียนรู้แบบมีส่วนรวม
18. การเรียนการสอนแบบบูรณาการ




เทคนิควิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจดการเรียนการสอน

วิธีการสอน
1. วิธีการสอนแบบบทบาทlสมมติ (Role Playing)
2. วิธีการสอนโดยกรณีศึกษา (Case Study)
3. วิธีสอนโดยใช้เกม (Game)
4. วิธีการสอนแบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)
5. วิธีการสอนโดยการทดลอง (Experiment)

6. วิธีการสอนโดยใช้การนิรนัย (Deduction)
7. วิธีการสอนโดยใช้การอุปนัย (Induction)
เทคนิคการสอน
1. สอนแบบเกม
- เทคนิคการตั้งคำถาม
- เทคนิคผังกราฟิก
- เทคนิค KWL
2. สอนแบบบรรยาย
- เทคนิคการตั้งคำถาม
- เทคนิคผังกราฟิก
- เทคนิค KWL
- เทคนิคการใช้เกม


เทคนิคการใช้กราฟิก
1. ผังความคิด (A Mind Map) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของสาระ หรือความคิดต่างๆให้เห็นในภาพรวม โดยใช้เส้น คำ ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง สี เครื่องหมาย รูปทรงเรขาคณิตและภาพ แสดงความหมาย และความเชื่อมโยงของความคิด
2. ผังมโนทัศน์ (A Concept Map) เป็นการแสดงความคิดรวบยอดใหญ่ไว้ตรงกลาง และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ใหญ่และย่อยตามลำดับขั้น ด้วยเส้นเชื่อมโยง
3. ผังแมงมุม (A Spider Map) เป็นการแสดงมโนทัศน์อีกรูปแบบหนึ่ง มีลกษณะคล้ายใยแมงมุม
4. ผังก้างปลา (A fishbone Map) เป็นผังที่แสดงสาเหตุของปัญหาซึ่งมีความซับซ้อน ช่วยทำให้สาเหตุหลักและสาเหตุย่อยชัดเจน



เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อและสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น
2. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น คือผู้เรียนต้องทำงานร่วมกัน ไม่ใช่นั่งรวมกลุ่มกัน แต่ต่างคนต่างทำงานของตัวเอง การจัดให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันผู้สอนจะต้องกำกับดูแลให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนมีบทบาทในการทำงาน
3.  เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ช้ในชีวิตประจำวัน คือ ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการดำเนินชีวิต สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้



เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
ประเภทของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ การสอนแบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลักและการสอนแบบเน้นสื่อ
1.การสอนแบบเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นหลักการสอนแบบนี้ได้แก่
1.1 การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก
-เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียนรู้
- ผู้เรียนจะคิดวิเคราะห์ปัญหาตั้งสมมติฐานอันเป็นที่มาของปัญหา และหาทางทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้
-ผู้เรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่จะเรียนรู้เนื้อหาต่างๆมาก่อนเพื่อจะสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่โดยกระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก หากพื้นความรู้เดิมของผู้เรียนไม่เพียงพอจะต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
-การดำเนินการสอน ผู้สอนจะต้องนำปัญหาที่เป็นความจริงมาเขียนเป็นกรณีศึกษาหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียน
1.2 การสอนแบบนิรมิตวิทยาเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเองโดยมีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว
1.3 การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนทราบถึงคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง โดยสามารถระบุลักษณะเด่น ลักษณะรอง ของสิ่งนั้นๆได้ สามารถนำความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ
1.4 การสอนแบบร่วมมือประสานใจ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนร่วมมือกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และประสานงานกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียน
1.5 การสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถ ในการใช้ความคิดพิจารณา ตัดสินเรื่องราวปัญหา ข้อสงสัยอย่างรอบคอบ และมีเหตุผล ผู้สอนจะเป็นผู้นำเสนอปัญหาและดูแล ให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมของผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอนจะเริ่มจากปัญหาที่สอดคล้องกับวุฒิภาวะ และประสบการณ์ของผู้เรียน
2 การเรียนการสอนแบบเน้นสื่อ การเรียนการสอนแบบเน้นสื่อเป็นประเภทของการสอนในลักษณะใช้สื่อเป็นหลัก เช่น การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป การสอนแบบศูนย์การเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรมCAI เป็นต้น





การวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การประเมินผลเป็นกระบวนการที่มีส่วนเสริมสร้างความสำเร็จให้กับผู้เรียน และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน แนวคิดในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสม คือ การวัดและประเมินผลของผู้เรียนตามสภาพจริง





อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น