คำถามท้ายบทที่
7
1.จากการศึกษาข้อมูลในบทที่ 7 ท่านคิดว่าการวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยาก/ความง่ายเพียงใดและขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
สำหรับตัวท่านแล้ว ขั้นตอนใดมีความยาก/ง่ายที่สุดในการพัฒนา 3 อันดับแรก เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ตอบ
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ความยากง่ายขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะสอนแต่ละรายวิชาแตกต่างกันไป
และขั้นตอนที่ยากที่สุดคือ
1.
ขั้นวิเคราะห์สาระหน่วยการเรียนรู้และตัวชี้วัด
คือ วิเคราะห์สาระหน่วยการเรียนรู้และตัวชี้วัด ก่อนเขียนแผนการสอน
เป็นแผนผังมโนทัศน์ แล้วนำผลการวิเคราะห์มาสรุปสาระการเรียนรู้
ตัวชี้วัด/จุดประสงค์/ผลการเรียนรู้ ลงตารางจำแนกการจัดกิจกรรมรายชั่วโมง
แต่ละหน่วยมีเนื้อหาสาระเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ผู้สอนเกิดความผิดพลาด
2.
ขั้นเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้
ให้เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และตัวชี้วัด/จุดประสงค์/ผลการเรียนรู้
ในแต่ละเรื่องที่จะทำแผนการจัดการเรียนรู้ หากกระบวนการจัดการเรียนรู้ไม่เหมาะสม
จะทำให้เรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
3.
ขั้นจัดเตรียมเครื่องมือ สื่อการสอน
แหล่งเรียนรู้ เอกสารประกอบการสอนและเอกสารการประเมิน ให้ตรงกับเนื้อหาที่จะสอน
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้
2.ในประโยคที่ว่า “ในปัจจุบัน
การวัดผลไม่ใช่เพียงแค่การทดสอบหรือสอบเพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องประเมินสภาพแท้จริงของผู้เรียน” สำหรับท่านประโยคนี้มีความหมายว่าอย่างไรและมีวิธีการปฏิบัติจริงได้อย่างไร
ตอบ จากประโยค หมายความว่า การวัดผลว่าการจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
ประสบผลสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับคะแนนการทำแบบทดสอบอย่างเดียว แต่ต้องประเมินสภาพแท้จริงของผู้เรียน
คือ
1.
ประเมินการแสดงออก/การปฏิบัติ
โดยการสังเกตจากพฤติกรรม
2.
ประเมินกระบวนการและผลผลิต
นักเรียนจะเป็นสื่อกลางให้ครูเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
ข้อมูลที่สำคัญที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า ทดลอง และโครงงานต่างๆ
3.
การประเมินแฟ้มสะสมงาน
เป็นการประเมินความสำเร็จของนักเรียนจากผลงาน ที่แสดงถึงความสนใจ ความสามารถ ทักษะ
เจตคติ และพัฒนาการของนักเรียน
3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 7 เรื่อง การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้
ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด (Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์มากที่สุด
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น