วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (child center)
วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (child center)
1.วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา ( Problem-Solving Method) วิธีนี้ จอห์น ดิวอี้ เป็นผู้คิดค้น เป็นการสอนให้นักเรียนแก้ปัญหา
โดยครูเป็นผู้ชี้แนะ การแก้ปัญหาใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ
-ตั้งสมมติฐาน (Setting up of Hypothesis)
-ทดลองและรวบรวมข้อมูล
(Experimenting and Gathering of Data)
-วิเคราะห์ข้อมูล
(Analysis of Data)
-สรุป (Conclusion)
2. วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing) เป็นการสอนที่กำหนดให้ผู้เรียน แสดงบทบาทตามสมมติ
เพื่อให้ผู้ดูเกิดความรู้ ความเข้าใจและความสนใจ เป็นการฝึกความกล้าแสดงออก
เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ของเด็ก การแสดงบทบาทสมมติจะไม่มีเกณฑ์และการแข่งขัน
3.วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์
(Scientific Method)
โดยนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้นักเรียนค้นพบปัญหาและวิธีการแก้ไข
ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น
วิธีนี้เหมาะสำหรับ การศึกษา ค้นคว้า ทดลองแบบง่ายๆ
4.
วิธีสอนตามขั้นที่ 4 ของอริยสัจ
(Buddist’s Method)
เป็นการสอนคล้ายกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ทุกข์ =
การกำหนดปัญหา
สมุทัย =
การตั้งสมมติฐาน
นิโรธ =
การทดลองและเก็บข้อมูล
มรรค =
การวิเคราะห์ข้อมูลการสรุป
5. วิธีการสอนแบบทดลอง (The Laboratory Method) ลักษณะคล้ายกับการสอนแบบวิทยาศาสตร์
แต่มีการปรับปรุงบางส่วนเพื่อให้เหมาะกับวิชาอื่น เป็นการสอนแบบแสดงข้อเท็จจริง
จากการสืบสวน ค้นคว้าและทดลอง โดยให้นักเรียนลงมือปฏิบัติเอง
6.
วิธีการสอนแบบอภิปราย
(Discussion)
เป็นการสอนแบบแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
ระหว่างครูกับนักเรียนหรือนักเรียนกับนักเรียน โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน
เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกพูด และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย
7.
วิธีการสอนแบบจุลภาค
(Micro-Teaching) เป็นนวัตกรรมการศึกษา
เป็นการสอนกับนักเรียน 5-6 คน
ใช้เวลา 5-15 นาที
เป็นการฝึกทักษะการสอนใหม่ๆ ก่อนนำไปใช้จริงในชั้นเรียน
เป็นการสอนแบบย่นย่อทั้งเวลา ขนาดของชิ้นงานและทักษะ
8.
วิธีการสอนแบบโครงการ
(Project Method)
เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่หรือรายบุคคลได้วางโครงการและดำเนินงานให้สำเร็จ
เป็นการสอนให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของนักเรียน เริ่มด้วยการตั้งปัญหา
และดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
9. วิธีการสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method) เป็นการสอนที่นำเนื้อหาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน
โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ถือเอาความมุ่งหมายของหน่วยเป็นหลัก
10.
วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน
(Learning Center)
เป็นการเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมของนักเรียน
โดยแบ่งบทเรียนออกเป็น 4-6 กลุ่ม
แต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมต่างกันตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน
แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ แห่งละ 15-20
นาที
จนครบทุกศูนย์
11.
วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม
( Programed
Instruction) เป็นสื่อการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหลายๆกรอบ แต่ละกรอบจะมีเนื้อหาเฉพาะแบบฝึกให้ทำพร้อมเฉลย
12.
บทเรียนโมดูล
(Module) เป็นบทเรียนหน่วยหนึ่งที่สร้างขึ้นมา
เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามจุดประสงค์ของบทเรียน องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล
ได้แก่
1.หลักการและเหตุผล
(Prospectus)
2.จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
(Behavioral
Objectives)
3.การประเมินผลก่อนเรียน
(Pre-Assessment)
4.กิจกรรมการเรียน
(Enabling
Activities)
5.การประเมินผลหลังเรียน
(Post-Assessment)
13.
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction)
สื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูง
ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
หลักการของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกแนวคิด
เป็นสื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
ผู้เรียนร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้นและรู้ผลทันที
14. การสอนซ่อมเสริม เป็นการจัดการเรียนรู้เพิ่มแก่นักเรียนที่มีระดับสติปัญญาต่ำ
เรียนไม่ทันเพื่อน หรือจัดการเรียนเพิ่มแก่นักเรียนที่เก่ง
เพื่อให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น
15.
หมวกแห่งความคิด
(The Six Thinking Hats)
เป็นแนวคิดของ
Edward
de Bon หมวกแห่งความคิดมี 6
ใบดังนี้
1.หมวกสีขาว
เป็นตัวแทนข้อเท็จจริง ข้อมูล ตัวเลข
2.หมวกสีแดง
แทนอารมณ์ความรู้สึก และการหยั่งรู้
3.หมวกสีดำ
แทนความคิดทางลบในทางที่ไม่ดี ไม่ได้ผล จุดด้อย ข้อผิดพลาด
4.หมวกสีเหลือง
แทนสิ่งที่ถูกต้อง ความคิดเชิงบวก สนับสนุนให้กำลังใจ
5.หมวกสีเขียว
แทนการเจริญเติบโต คุณค่าของความคิด ความคิดสร้างสรรค์
6.หมวกสีน้ำเงิน
แทนการควบคุม เป็นความคิดสรุป ควบคุมบทบาทของสมาชิกของกลุ่ม
16. การสอนแบบ 4 MAT มี 4 ขั้น คือ
ขั้นที่1 Why ตั้งคำถามกระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เรียน
ขั้นที่2 What เป็นการอธิบายความเข้าใจการจัดการศึกษาด้วยตนเอง
ขั้นที่3 How เป็นการนำไปปฏิบัติ
ขั้นที่4 If เป็นการกระตุ้น
17.
วิธีการสอนแบบ
Storyline เป็นการสอนแบบบูรณาการ
โดยการดึงเอาแนวคิดจากวิชาต่างๆ
ใช้กระบวนการหลากหลายมาแก้ปัญหาและกิจกรรมหลายๆรูปแบบ
โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน
โดยคำนึงว่าผู้เรียนมีประสบการณ์และทักษะเดิม
18.
แผนการสอนแบบ
CIPPA เป็นแผนการสอนที่ใช้กิจกรรม
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มี 5 ด้าน
ได้แก่
1.Construct
หรือการสร้างความรู้ตามแนวคิดของ
Constructivism
ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
2.Interaction
หรือการปฏิสัมพันธ์
ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน สื่อ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3.Physical
Participation หรือการมีส่วนร่วมทางกาย
ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมลักษณะต่างๆ
4.Process
Learning หรือการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ
เป็นทักษะจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
5.Application
หรือการนำคาวามรู้ไปประยุกต์ใช้
ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น