พื้นฐานสำคัญของการออกแบบการเรียนการสอน
1.ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ
การแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย
เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
ด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล
และมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร
2. นิยามของการออกแบบการเรียนการสอน
ริตา ริชชีย์ (Rita Richey, 1986 : 9) นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า
เป็นวิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะเพื่อการพัฒนาการ
การประเมินผลและการบำรุงรักษาสถานการณ์
หรือเงื่อนไขที่อำนวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชา
ทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย
นิยามให้ความกระจ่างแก่นักวิจัยว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอน
แต่เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐานของความรู้ ไชยศ เรืองสุวรรณ (ไชยศ,
2533 : 12) ได้นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอน
เป็นการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย
จุดเริ่มต้นของการออกแบบการเรียนการสอนควรเป็นการพิจารณาองค์ประกอบเบื้องต้นของระบบ
และพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอนและไชยศ
เรืองสุวรรณยังได้เสนอกรอบแนวคิดของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนว่ามีองค์ประกอบ 4
ประการ คือ ผู้เรียน จุดหมาย วิธีสอน และการประเมินผล ชีลส์
และกลาสไกว์ นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอน เป็นทั้งกระบวนการและสาขาวิชา
ในฐานะที่เป็นกระบวนการ เป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอน และในฐานะสาขาวิชา
เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและทฤษฎีเฉพาะในเรื่องของการเรียนการสอนและกระบวนการในการพัฒนาออกแบบการเรียนการสอนที่เฉพาะเจาะจง
สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน
หมายถึงกระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์สถานการณ์
หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย โดยอาศัยความรู้จากหลายๆทฤษฎี เช่น
ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน ทฤษฎีการติดต่อการสื่อสาร
ตลอดจนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์
3.ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
1.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
การออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเอภัตภาพของผู้เรียนแต่ละคน
จะช่วยสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
2.กลยุทธ์การสอน
การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นการสอนรายบุคคล โดยอาศัยสื่อต่างๆเข้าช่วย
ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ พัฒนามโนทัศน์ของตน
ทำให้ผู้เรียนช้าไม่เหนี่ยวรั้งผู้เรียนเร็ว และผู้เรียนเร็วสามารถไปได้ไกล
การออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมสามารถช่วยในจุดนี้ได้
3.การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอาศัยการประเมินตัวต่อตัว
ประเมินกลุ่มย่อยและการทดลองภาคสนาม
การออกแบบการเรียนการสอนจะทำให้การประเมินในลักษณะนี้มีความชัดเจนขึ้น
และใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์
ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
4.แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการเชิงระบบที่ประกอบด้วย
1.การวิเคราะห์
(analysis) เป็นกระบวนการที่ต้องระบุว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องเรียน
2.การออกแบบ
(design) เป็นกระบวนการของการระบุว่าจะเรียนอย่างไร
3.การพัฒนา
(development) เป็นกระบวนการการจัดการ และผลิตวัสดุอุปกรณ์
4.การนำไปใช้
(implementation) เป็นกระบวนการของการกำหนดโครงการในบริบทของโลกแห่งความเป็นจริง
5.การประเมินผล
(evaluation) เป็นกระบวนการของการตัดสินใจต่อความเพียงพอของการเรียนการสอน
5.
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอนมีได้หลากหลาย
ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาวิชา
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนมีบทบาทเป็นทั้งนักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอน (ID
researcher) และนักปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอน (ID
prectitioner) โดยที่นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอนสนใจศึกษาตัวแปร
และพัฒนาทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอน มีบทบาทเป็นผู้ชำนาญการพิเศษ (specialist)
ขณะที่นักปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนสนใจประยุกต์งานวิจัย
และทฤษฎีพัฒนาการเรียนการสอน และวัสดุอุปกรณ์มีบทบาทเป็นผู้รู้ทั่วๆไป (gerneralist)
6.งานและผลผลิตของการออกแบบการเรียนการสอน งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลาย
ในความต้องการด้านความรู ความชำนาญ ผลิตผลที่ได้ และสถานการณ์ของงาน
6.1.
งานออกแบบ การที่จะทำให้การออกแบบการเรียนการสอนมีความโดดเด่นขึ้นในสถานการณ์ในโรงเรียน
ต้องมีการเปลี่ยนแปลง 3 ประการ คือ
1.ลดจำนวนเวลาที่ใช้
2.ส่งเสริมการเรียนการสอนรายบุคคล
3.ใช้ระบบการสอนที่สิ้นเปลืองงบประมาณน้อย
6.2. ผลิตผลของการออกแบบ ผลผลิตของการออกแบบการเรียนการสอนมีความหลากหลาย
ขึ้นอยู่กับขอบเขตและความซับซ้อนของเนื้อหา รวมไปถึงความแตกต่างของหลักสูตร
ขอบเขตที่เล็กที่สุด คือ แผนการสอน (lesson plan) และชุดโมดุล
(modules) ระดับต่อไปคือ รายวิชา (courses) และหน่วย (unit) รายวิชาหลักและสิ่งแวดล้อมเป็นผลผลิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่
ระดับสูงสุดของระดับความซับซ้อน คือ
สื่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อทางโทรคมนาคมเข้ามาช่วย ระต่ำสุดของความซับซ้อน คือ
กระดาษและดินสอ และสำหรับโสดทัศนวัสดุเป็นระดับกลาง
7. สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
7.1. ความถนัดของบุคคล ผู้ออกแบการเรียนการสอนต้องมีความสามารถในการคิดทั้งเชิงรูปธรรม
และนามธรรม มีความคงเส้นคงวา มีเหตุผล มีความถนัด มีความสนุกสนานในการทำงาน
ในการสร้างแบบจำลอง มีความสามารถในการเขียน และการเรียบเรียง
มีความเข้าใจในภาระงานทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
7.2. ประกาศนียบัตร จำเป็นต้องรู้ถึงสมรรถภาพของนักออกแบบการเรียนการสอนตามต้องการ เพื่อที่จะได้เพิ่มพูนสมรรถภาพเหล่านั้น ประกาศนียบัตรเป็นสิ่งที่แสดงถึงสมรรถภาพ
7.2. ประกาศนียบัตร จำเป็นต้องรู้ถึงสมรรถภาพของนักออกแบบการเรียนการสอนตามต้องการ เพื่อที่จะได้เพิ่มพูนสมรรถภาพเหล่านั้น ประกาศนียบัตรเป็นสิ่งที่แสดงถึงสมรรถภาพ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น