ความหมายและประเภทของรูปแบบ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.
2542
(2546 : 965) ให้ความหมายไว้ว่ารูปแบบ หมายถึง
รูปที่กำหนดขึ้นเป็นหลักหรือเป็นแนวซึ่งเป็นที่ยอมรับ สอดคล้องกับแนวคิดของทิศนา
แขมมณี (2550 : 220) ซึ่งกล่าวไว้ว่า รูปแบบ (Model)
เป็นรูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม
ซึ่งบุคคลแสดงออกมาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น เป็นคำอธิบาย เป็นแผนผัง ไดอะแกรม
หรือ แผนภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองและบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
รูปแบบจึงเป็นเครื่องมือทางความคิดที่บุคคลใช้ในการสืบเสาะหาคำตอบ ความรู้
ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทั้งหลาย สอดคล้องกับแนวความคิดของ เบญจพร แก้วมีศรี(2545:39) ที่กล่าวไว้ว่า รูปแบบหมายถึง ตัวแทนของความเป็นจริงเป็นการทำให้ความสลับสับซ้อน
สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น เป็นการสะท้อนบางส่วนของปรากฏการณ์ออกมาให้เห็นความสำพันธ์ต่อเนื่องและความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
รวมถึงการเชื่อมโยงสิ่งที่เกี่ยวข้องมาไว้ด้วยกัน โดยจะต้องใช้ข้อมูล เหตุผลและฐานคติมาประกอบ
การแสดงรูปแบบสามารถทำได้หลายลักษณะ นอกจากนั้นวิสุทธิ์
วิจิตรพัชราภรณ์ (2547:10) กล่าวไว้ว่า
รูปแบบเป็นการจำลองภาพในอุดมคติที่นำไปสู่การอธิบาย คุณลักษณะสำคัญของปรากฎการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
จากการศึกษาความหมายของรูปแบบของนักวิชาการหลายๆคนสามารถสรุปความหมายของรูปแบบได้ว่า
คำว่า รูปแบบมาจากภาษาอังกฤษว่า
Model เป็นการจำลองความคิดเพื่ออธิบายให้เป็นรูปธรรมเพื่อง่ายต่อความทำความเข้าใจ
โดยอาจเป็นคำอธิบาย หรือแผนผัง หรือไดอะแกรม หรือแผนภาพความเหมาะสม โดยระบุถึงองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรอง พร้อมทั้งบอกถึงรายละเอียดและขั้นตอนในการพัฒนารูปแบบได้อย่างชัดเจน
นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการกล่าวถึงประเภทของรูปแบบเอาไว้ดังต่อไปนี้
คีฟส์ (Keeves 1988:561-565) แบ่งประเภทของรูปแบบออกเป็น5แบบได้แก่
1.รูปแบบเชิงเปรียบเทียบ
(Analogue Model) เป็นความคิดที่แสดงออกในลักษณะของการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆอย่างน้อย2สิ่งขึ้นไป
2.รูปแบบเชิงภาษา
(Semantic Model) เป็นความคิดที่แสดงออกผ่านทางภาษาโดยการพูดและเขียน
3.รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์
(Mathematic Model) เป็นความคิดที่แสดงออกผ่านทางรูปคณิตศาสตร์
4.รูปแบบเชิงแผนผัง
( Schematic Model) เป็นความคิดที่แสดงออกผ่านทางแผนผัง แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5.รูปแบบเชิงสาเหตุ(Causal Model)
เป็นความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสำพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆของสภาพการณ์/ปัญหา
สำหรับแนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกรูปแบบ
สรุปได้ว่าขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการนำเสนอว่าจะนำเสนออย่างไรจึงจะสะท้อนถึงความคิดได้อย่างชัดเจน
สอดคล้องกับความต้องการของผู้นำเสนอ โดยจะต้องพิจารณาถึงลักษณะของสิ่งนำเสนอด้วย
องค์ประกอบของรูปแบบ
1. ส่วนประกอบ
เป็นส่วนหนึ่งของระบบซึ่งถูกกำหนดขึ้นจากการกระทำต่างๆ เพื่อแสดงผลลัพธ์ของระบบ
2. ตัวแปร
เป็นคุณสมบัติที่กำหนดขึ้นของระบบภายใต้เงื่อนไขต่างๆกัน ซึ่งอาจจำแนกได้หลายชนิด
3. พารามิเตอร์
เป็นคุณสมบัติของระบบ
4. ฟังก์ชั่นความสัมพันธ์
เป็นฟังก์ชั่นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ และตัวแปรต่างๆในระบบ
ซึ่งจะบอกถึงพฤติกรรมของระบบนั้น
สรุปได้ว่าในการสร้างรูปแบบ
ควรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ส่วนที่เป็นปัจจัย กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์
สภาพแวดล้อม ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้ โดยแสดงถึง
ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆอย่างมีเหตุผล ในการสร้างรูปแบบ
ผู้สร้างจะต้องคำนึงถึงลักษณะของรูปแบบที่ดี
โดยในการสร้างรูปแบบให้เป็นรูปแบบที่ดี
ได้มีผู้กล่าวถึงลักษณะของรูปแบบที่ดีไว้ดังต่อไปนี้
คีฟส์ (Keeves 1988 : 560) กล่าวไว้ว่ารูปแบบที่ใช้ประโยชน์ได้
ควรมีลักษณะ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1. รูปแบบ
ควรประกอบด้วยความสัมพันธ์อย่างมีโครงสร้างมากกว่าความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันแบบรวมๆ
2. รูปแบบ ควรใช้เป็นแนวในทางพยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้นซึ่งสามารถรวบรวมได้โดยการสังเกต
ซึ่งเป็นไปได้ที่จะทดสอบรูปแบบบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ได้
3. รูปแบบ
ควรจะต้องระบุหรือชี้ให้เห็นถึงกลไกเชิงเหตุผลของเรื่องที่ศึกษา
ดังนั้นนอกจากรูปแบบจะเป็นเครื่องมือในการพยากรณ์ได้
ควรใช้อธิบายปรากฏการณ์ได้ด้วย
4. รูปแบบ
ควรเป็นเครื่องมือในการสร้างมโนทัศน์ใหม่และสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปรในลักษณะใหม่
ซึ่งเป็นการขยายในเรื่องที่กำลังศึกษา
ในการสร้างและพัฒนารูปแบบที่ดีจะต้องได้มาจากแนวคิดของทฤษฎี
ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต่างๆ
เพื่ออธิบายถึงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของเรื่องที่ศึกษาได้ครอบคลุมและชัดเจน
ซึ่งรูปแบบที่ดีจะต้องผ่านการทดสอบหรือตรวจสอบก่อนนำไปใช้จริง
เนื่องจากจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการสร้างรูปแบบ คือ
การทดสอบหรือตรวจสอบรูปแบบที่สร้างขึ้นมาว่ามีความถูกต้อง เหมาะสมและสอดคล้องกับการนำรูปแบบไปใช้ประโยชน์ต่อไปหรือไม่
อ้างอิง
ที่มา : https://drjirapan.wordpress.com. หลักการและแนวคิดในการวิจัยพัฒนารูปแบบ. เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2561.
อ้างอิง
ที่มา : https://drjirapan.wordpress.com. หลักการและแนวคิดในการวิจัยพัฒนารูปแบบ. เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น