วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาที่4

เทคนิคการใช้คำถาม

 การใช้คำถามเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คือ ต้องมีการศึกษาลักษณะของคำถาม และครูต้องใช้ศิลปะในการถามซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ครูต้องมีการฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะในการใช้ การใช้คำถามสามารถดึงดูดความสนใจ ต้องอาศัยประสบการณ์ในการใช้ 
ใคร?    อะไร?    ที่ไหน?    อย่างไร?    เมื่อใด?    ทำไม?    เท่าใด

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถามมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
 1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม
 ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
 2. ขั้นเตรียมคำถาม
 ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
 3. ขั้นการใช้คำถาม
 ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น ๆ
 4. ขั้นสรุปและประเมินผล
 4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง

ประโยชน์ของคำถาม 
1. เสริมสร้างความสามารถในการคิดให้แก่ผู้เรียน 
2. เพื่อเร้าความสนใจใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียน 
3. คำถามที่ดีจะทำให้มีการอภิปรายต่อเนื่องกันไป 
4. ขยายความคิด 
5. ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน 
6. ใช้เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ 
7. ก่อให้เกิดการค้นคว้าและสำรวจหาความรู้ใหม่ 
8. ใช้ทบทวนหรือสรุปเรื่องราวที่สอน 
9. ใช้วัดความเข้าใจ ความสามารถของผู้เรียน และใช้วัดการสอนของผู้สอนด้วย

 ลักษณะคำถามที่ดี 
1. มีความชัดเจนผู้เรียนรู้ว่าต้องการถามอะไร
2. เข้าใจง่าย ภาษาพูดเข้าใจง่าย
3. มีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์การเรียน การสอน สัมพันธ์กับเรื่องราว เนื้อหา กิจกรรม

เทคนิคการใช้คำถาม 
           1. ถามด้วยความมั่นใจ
        2. ความกลมกลืนในการถาม
        3. ถามให้เป็นภาษาพูดง่ายๆ
4      4. เว้นระยะให้คิด อย่าเร่งรัดคำตอบจากผู้เรียนมากเกินไป
           5. ให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบได้หลายคน


 อ้างอิง
ที่มา : http://navapolguide7.blogspot.com/2015/07/questioning-method.html. เทคนิคการใช้คำถาม. เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2561.
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น