รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนของไทย
นอกจากรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในต่างประเทศ
ซึ่งได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกันอย่างกว้างขวางพอสมควร
นักศึกษาไทยได้ติดตามศึกษาความก้าวหน้าด้านวิชาเหล่านี้ และได้นำมาเผยแพร่ในวงการศึกษาไทย
ซึ่งได้รับความนิยมมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปตามความคิดและความเชื่อของผู้รับ
ในขณะเดียวกันได้มีนักคิดนักการศึกษาและครูอาจารย์ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้จำนวนหนึ่งได้พยายามคิดค้นหรือพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ความคิดและประสบการณ์ของตน
หรือประยุกต์จากทฤษฎีหรือหลักการที่ได้รับการยอมรับ เช่น ประยุกต์จากหลักพุทธธรรม หรือประยุกต์จากแนวคิดต่างประเทศ
โดยพิจารณาให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของไทย
ปัญหาความต้องการและธรรมชาติของเด็กไทย
กระบวนการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและได้รับการทดลองใช้เมื่อพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพแล้ว
ถือว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอนหรือเป็นแบบแผนของการจัดการเรียนการสอน
ที่ผู้อื่นสามารถนำไปใช้แล้วจะเกิดผลตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบนั้น
นับว่าเป็นการช่วยให้แนวทางแก่ผู้ปฏิบัติไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก
อยากได้รูปแบบที่ดีตรงกับวัตถุประสงค์ในการสอนของตนก็สามารถสอนตามแบบแผนและได้ผลตามที่ต้องการได้ในประเทศไทย
รูปแบบในลักษณะดังกล่าวมาจากกลุ่มบุคคล 2 กลุ่มคือนักการศึกษาที่สนใจศึกษาและทำวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนกลุ่มหนึ่ง
และอีกกลุ่มคือนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกที่ศึกษาวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ผลงานจากกลุ่มหลังนี้มีจำนวนมากกว่ากลุ่มแรกเนื่องจากจากจำนวนนิสิตนักศึกษามีมาก แต่คุณภาพของงานย่อมหลากหลายตามความสามารถของผู้ทำด้วย
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งทั้งที่อยู่ในวงการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาและกลุ่มที่อยู่ในโครงการอื่นที่ไม่ใช่การศึกษา
แต่สนใจในเรื่องการจัดการศึกษา
ได้นำเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นระบบไว้อย่างเป็นกระบวนการ คือมีขั้นตอนที่เป็นไปอย่างมีลำดับชัดเจน
ซึ่งถึงแม้จะยังไม่ได้รับการทดลองใช้อย่างเป็นระบบและพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพตามหลักการแล้ว
แต่ได้รับความเชื่อถือจากสังคมไม่น้อยผลงานในลักษณะดังกล่าวเรียกว่า “กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน”
ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนของไทยจึงแบ่งออกเป็น 3
หมวดใหญ่ๆคือ
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษา
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
3. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
เนื่องจากบุคคลที่พัฒนารูปแบบนั้นขึ้นมาอาจไม่ได้เรียกชื่องานของท่านว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอน
บางท่านเรียกว่า “การสอน” “รูปแบบการสอน” “กระบวนการสอน” “การจัดการเรียนการสอนการสอนแบบ...”
ซึ่งโดยความหมายและลักษณะของผลงานแล้วตรงกับความหมายของรูปแบบการเรียนการสอนทั้งสิ้น
ดังนั้นจึงขอใช้คำว่ารูปแบบการเรียนการสอนทั้งหมดเพื่อความเป็นระเบียบและทำให้ผู้อ่านไม่เกิดความสับสน
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น