ขั้นตอนในการเขียนแผนการสอนและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน
1.ศึกษาแผนการสอนแม่บท
และปรับแผนการสอนโดยแบ่งหัวข้อของเนื้อหาโดยย่อยลงไปในการแบ่งหัวข้อของเนื้อหา
ซึ่งเวลาที่จะสอนในแต่ละครั้งจะไม่เท่ากันแล้วแต่เนื้อหา
และการจัดตารางแผนการสอนของแต่ละโรงเรียน
2.ศึกษาความคิดรวบยอดทั้งหมดของเรื่องนั้นให้เข้าใจ ศึกษาจุดประสงค์มาตรฐานการเรียนรู้ของสาระนั้น เพื่อทำความเข้าใจว่าสอนแบบนี้ ผู้เรียนทำอะไรบ้าง ได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างไร
3.ศึกษาเนื้อหาและรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง สอดคล้องกับความคิดรวบยอดและจุดประสงค์หรือไม่
4.ศึกษากิจกรรมการเรียนทั้งหมดตรวจสอบดูว่ากิจกรรมทั้งหมดแต่ละเรื่องตรงตามเนื้อหาหรือไม่ จะต้องหามาได้โดยวิธีใด อย่างไร ถ้าทำเองจะทันเวลาหรือไม่
5.ศึกษาการวัดผลและประเมินผลแต่ละครั้งที่สอนว่าใช้วิธีอย่างไร วิธีการเหล่าเหมาะสมกับการวัดเนื้อหาและกิจกรรมหรือไม่
2.ศึกษาความคิดรวบยอดทั้งหมดของเรื่องนั้นให้เข้าใจ ศึกษาจุดประสงค์มาตรฐานการเรียนรู้ของสาระนั้น เพื่อทำความเข้าใจว่าสอนแบบนี้ ผู้เรียนทำอะไรบ้าง ได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างไร
3.ศึกษาเนื้อหาและรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง สอดคล้องกับความคิดรวบยอดและจุดประสงค์หรือไม่
4.ศึกษากิจกรรมการเรียนทั้งหมดตรวจสอบดูว่ากิจกรรมทั้งหมดแต่ละเรื่องตรงตามเนื้อหาหรือไม่ จะต้องหามาได้โดยวิธีใด อย่างไร ถ้าทำเองจะทันเวลาหรือไม่
5.ศึกษาการวัดผลและประเมินผลแต่ละครั้งที่สอนว่าใช้วิธีอย่างไร วิธีการเหล่าเหมาะสมกับการวัดเนื้อหาและกิจกรรมหรือไม่
ประโยชน์ของการเขียนแผนการสอน
1. ทำให้การสอนมีเป้าหมายที่ชัดเจน
2. ผู้สอนได้เตรียมตัวก่อนที่จะไปสอน
ทำให้รู้ล่วงหน้าและเตรียมเนื้อหาได้ถูกต้อง
3. ทำให้การจัดกิจกรรมการสอนดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนที่กำหนด
4. ทำให้ผู้สอนมีความเชื่อมั่นในการสอนมากขึ้น
5. ช่วยให้ผู้สอนสามารถดำเนินงานในการเรียนการสอนได้ตรงตามหลักสูตร
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
2. ศึกษาทำความเข้าใจ
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง รายกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. วิเคราะห์จัดทำคำอธิบายรายวิชาในแต่ละวิชา
4. จัดทำหน่วยการเรียนรู้หรือโครงสร้างแต่ละรายวิชา
5. การเขียนแผนหน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้ย่อย
เตรียมสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
ขั้นตอนการวิเคราะห์การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1
ศึกษาองค์ประกอบของแผน
และเลือกรูปแบบในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 2
วิเคราะห์สาระหน่วยการเรียนรู้และตัวชี้วัด ก่อนเขียนแผนการสอน
เป็นแผนผังมโนทัศน์ แล้วนำผลการวิเคราะห์มาสรุปสาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด/จุดประสงค์/ผลการเรียนรู้
ลงตารางจำแนกการจัดกิจกรรมรายชั่วโมง
ขั้นที่ 3
เลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และตัวชี้วัด/จุดประสงค์/ผลการเรียนรู้
ในแต่ละเรื่องที่จะทำแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 4
ลงมือวางแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่
5 จัดเตรียมเครื่องมือ สื่อการสอน แหล่งเรียนรู้
เอกสารประกอบการสอนและเอกสารการประเมิน
ขั้นที่ 6
ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ/ฝ่ายวิชาการ/ผู้อำนวยการโรงเรียน
ก่อนนำไปใช้ในชั้นเรียน
ขั้นที่ 7
นำแผนการจัดการเรียนรู้ ไปใช้ในชั้นเรียน
จากแนวทางการนำเสนอของกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอแนะให้มีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมในการที่สถานศึกษาจะเลือกใช้กับบริบทของสถานศึกษาดังตัวอย่างการเขียนแผนแบบย้อนกลับ
1.ความเข้าใจที่คงทน
หมายถึง ความรู้ความเข้าใจที่ต้องการให้นักเรียนจำฝังใจ
หรือมีความเข้าใจในเรื่องที่สอนไปอย่างยาวนาน
2.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ได้ทำการวิเคราะห์มาจากโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้
3.สาระสำคัญ หมายถึง ความคิดรวบยอดของเนื้อหาสาระที่จะทำการจัดการเรียนรู้ในเรื่องหนึ่งๆ โดยสรุปได้สอดคล้องกับชื่อเรื่องและตัวชี้วัด
4.วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายนำทางที่ตั้งไว้ในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้ไปถึงคุณภาพมาตรฐานและตัวชี้วัดในเรื่องนั้นๆ
5.สาระการเรียนรู้ หมายถึง สาระเนื้อหาวิชาที่จะทำการสอนที่ได้จากการวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัด ที่จะแตกออกเป็นความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ
6.สมรรถนะที่สำคัญ หมายถึง สมรรถนะที่กระทรวงการศึกษาธิการได้กำหนดไว้
7.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง คุณลักษณะ ๘ ประการที่กระทรวงศึกษากำหนดให้ครูจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่จัดการเรียนรู้
2.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ได้ทำการวิเคราะห์มาจากโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้
3.สาระสำคัญ หมายถึง ความคิดรวบยอดของเนื้อหาสาระที่จะทำการจัดการเรียนรู้ในเรื่องหนึ่งๆ โดยสรุปได้สอดคล้องกับชื่อเรื่องและตัวชี้วัด
4.วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายนำทางที่ตั้งไว้ในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้ไปถึงคุณภาพมาตรฐานและตัวชี้วัดในเรื่องนั้นๆ
5.สาระการเรียนรู้ หมายถึง สาระเนื้อหาวิชาที่จะทำการสอนที่ได้จากการวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัด ที่จะแตกออกเป็นความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ
6.สมรรถนะที่สำคัญ หมายถึง สมรรถนะที่กระทรวงการศึกษาธิการได้กำหนดไว้
7.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง คุณลักษณะ ๘ ประการที่กระทรวงศึกษากำหนดให้ครูจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่จัดการเรียนรู้
8.ชิ้นงาน/ภาระงาน
หมายถึง ชิ้นงาน/ภาระงานที่มอบให้กับผู้เรียนที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัด
9.กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนตามเนื้อหาสาระ และกระบวนการพัฒนาผู้เรียน โดยเลือกกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม
10.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง สื่ออุปกรณ์ วัสดุ แหล่งการเรียนรู้ เป็นสื่อกลางที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เข้าใจมากขึ้น นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ ได้เรียนรู้จริง เห็นจริง
11.บันทึกหลังสอน หมายถึง การบันทึกข้อมูลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเขียนสภาพการบรรยายสภาพที่เกิดขึ้นของผู้เรียนตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง แก้ไขอย่างไร และปรับกิจกรรมการสอนอย่างไร
9.กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนตามเนื้อหาสาระ และกระบวนการพัฒนาผู้เรียน โดยเลือกกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม
10.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง สื่ออุปกรณ์ วัสดุ แหล่งการเรียนรู้ เป็นสื่อกลางที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เข้าใจมากขึ้น นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ ได้เรียนรู้จริง เห็นจริง
11.บันทึกหลังสอน หมายถึง การบันทึกข้อมูลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเขียนสภาพการบรรยายสภาพที่เกิดขึ้นของผู้เรียนตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง แก้ไขอย่างไร และปรับกิจกรรมการสอนอย่างไร
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น