รูปแบบของแผนการสอน
รูปแบบของแผนการสอน สามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่างๆ ได้เป็น ๒ ลักษณะดังนี้
1. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะการเขียน
1.1
แบบเรียงหัวข้อ
เป็นแผนการสอนที่เสนอแผนโดยเรียงลำดับตามหัวข้อที่กำหนดไว้ก่อนหลัง
โดยไม่ต้องตีตาราง รูปแบบนี้มีข้อดีคือ สะดวกแก่ผู้สอน
เพราะไม่เสียเวลาในการตีตาราง เขียนได้ง่ายกระชับ แต่มีข้อจำกัดคือ ยากต่อการตรวจดูความสอดคล้องของแต่ละหัวข้อ
1.2 แบบกึ่งหัวข้อกึ่งตาราง แผนการสอนรูปแบบนี้นิยมเรียกสั้นๆว่า
แผนการสอนแบบกึ่งตาราง เป็นแผนการสอนที่เสนอข้อความตามหัวข้อส่วนหนึ่ง
และเขียนรายละเอียดลงในตารางอีกส่วนหนึ่ง การเขียนแผนการสอนแบบกึ่งตารางมีข้อดีที่กำหนดขั้นตอนตามเนื้อหาสาระกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลอย่างละเอียด
1.3 แบบกรมวิชาการ
นำเสนอไว้เป็นตัวอย่างในการเขียนแผนการสอน ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถนำไปดำเนินการปรับใช้ตามความเหมาะสม
2. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะของการใช้
การสอนในระดับต่างๆ ได้แก่ อนุบาล ช่วงชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษา
ช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
ย่อมมีรูปแบบแผนการสอนแตกต่างกันตามความเหมาะสม
2.1 ระดับอนุบาล
และช่วงชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษา นิยมใช้แผนการสอนแบบกึ่งตาราง
2.2 ช่วงชั้นที่
3-4 ชั้นมัธยมศึกษานิยมใช้แบบกึ่งตาราง ในระดับมัธยมตอนต้น
(ม.1-ม.3) ส่วนช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) นิยมใช้แผนการสอนแบบเรียงหัวข้อ
2.3 ระดับอุดมศึกษา
นิยมใช้แผนการสอนแบบเรียงหัวข้อ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น