วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 15


คำถามท้ายบทที่ 5
1.ตามความเข้าใจของท่าน การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีความหมายว่าอย่างไรและเหตุใดการปฏิรูปการศึกษาจึงให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว
ตอบ    การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริงและเงื่อนไขการรับรู้ของผู้เรียนเป็นที่ตั้ง ผู้เรียนมีอิสรภาพ ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพในทุกๆด้าน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง และผู้สอนดำเนินการให้สอดคล้องกับผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน มุ่งไปสู่การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่เพิ่มพูนประสบการณ์เรียนเพื่อรู้จักตนเอง เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้เพื่อการเจริญงอกงามทั้งร่างกาย จิตใจและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์

2.จากตัวอย่างของวิธีการสอนตามเส้นทางดำเนินเรื่องในหน้า 230 และ 231 ในหัวข้อเรื่องป่าไม้ ท่านคิดว่า ผู้เรียนจะได้พัฒนาตนเองในด้านใดบ้าง ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จงอธิบายและให้เหตุผล
ตอบ      1. การสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
ในการเรียนตามทฤษฎี Constructionism ผู้เรียนจะมีบทบาทเป็นผู้ปฎิบัติและสร้างความรู้ไปพร้อมๆกันด้วยตัวของเขาเอง(ทำไปและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน) ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้และพัฒนาความคิดด้วยตนเองทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทน
2. การทำงานร่วมกับคนอื่น
ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 4-5 คน โดย  สมาชิกในกลุ่มมีระดับความสามารถแตกต่างกัน สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ร่วมกันในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย มีเป้าหมายและมีโอกาสได้รับรางวัลของความสำเร็จร่วมกัน วิธีการแบบนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในเชิงบวก มาปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้ากัน ได้มีโอกาสรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม ได้พัฒนาทักษะทางสังคมและได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานเพื่อสร้างความรู้ให้กับตนเอง
3. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ หรือให้ผู้เรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่างๆ

3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 5 เรื่อง การจัดการเรียนรู้ตาม
แนวทางการปฏิรูปการศึกษา ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด (Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์มากที่สุด





อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น